1. หุ่นยนต์ที่ใช้ ในโรงงานอุตสาหกรรม
หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้งาน สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด ดังนี้
หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด นั่นคือ Articulate Robot อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ นั่นเอง
Articulate Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับแขนของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงหัวไหล่ไหลลงไป นั้นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ จะมีความสามารถในการทำงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของแขนมนุษย์นั่นเอง หลายๆ คนจึงมักเรียกหุ่นยนต์ชนิดนี้ว่า ‘แขนกล’
- การพัฒนาความเร็วในการเคลื่อนที่ไปด้านหน้าของหุ่นยนต์
- การเพิ่มเติมในระดับถัดไปของร่างกาย เช่น แขน มือและศีรษะ
- การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ เช่นการก้าวเดินขึ้นลงบันได หรือการวิ่ง
หุ่นยนต์ทางการแพทย์นำไปใช้ประโยชน์ด้านการผ่าตัด ช่วยในด้านพัฒนาการของเด็ก ใช้ติดตามคนไข้บนหอผู้ป่วย ด้านการดูแลและการพยาบาล ใช้ขนส่งอุปกรณ์ทางการแพทย์และยา ใช้ในการทำกายภาพบำบัด ใช้ในห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจวินิจฉัย ใช้สำหรับประชาสัมพันธ์ในโรงพยาบาล ใช้หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ เป็นต้น
หุ่นยนต์ในทางเภสัชกรรมนำไปใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรมยา ในการนับเม็ดยา ใช้จัดยาเฉพาะมื้อในโรงพยาบาล ใช้จัดยาในร้านขายยา ใช้ในการเตรียมยาสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย ทั้งยาน้ำ ยาฉีด ยาเคมีบำบัด เป็นต้น
แม้ว่าการนำหุ่นยนต์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ มีศักยภาพสูง แต่การใช้หุ่นยนต์มีข้อจำกัด เช่น ด้านราคาและการบำรุงรักษา ความกังวลที่หุ่นยนต์จะมาทดแทนมนุษย์ ความกังวลที่หุ่นยนต์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมนุษย์ รวมถึงปัญหาความรู้ความเข้าใจของมนุษย์ที่มีต่อหุ่นยนต์ ในอนาคตเมื่อเทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์พัฒนาไปมากขึ้น เราจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากหุ่นยนต์
4.หุ่นยนต์ที่ใช้เก็บกู้ระเบิด
หลักการทำงานของหุ่นยนเก็บกู้ระเบิดพื้นฐานในการตรวจและเก็บกู้ระเบิดทั่วๆ ไป คือ การรับ-ส่งภาพและหรือเสียง คีบจับทำลายวัตถุต้องสงสัยแล้ว และมีระบบการควบคุม 2 ระบบ คือระบบการใช้สาย LAN (Local Area Network) และระบบไร้สาย (Wireless LAN) หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดนี้ นอกจากจะมีสมรรถนะพื้นฐานทั่วไปแล้ว หน่วยวิจัยฯ ยังได้มีการปรับปรุงแก้ไขการพัฒนาระบบต่างๆ ติดตั้งเพิ่มเติม เพิ่มเติมตามความต้องการของผู้ใช้งาน เช่น
- อุปกรณ์ติดตั้งปืนฉีดน้ำแรงดันสูง สำหรับทำลายวัตถุต้องสงสัย
- อุปกรณ์การควบคุมเส้นทางและเข็มทิศอิเล็กทรอนิกส์
- อุปกรณ์การพัฒนาการเก็บและแสดงข้อมูลการเคลื่อนที่ของแขนกล
- อุปกรณ์การพัฒนาให้มือจับของตัวหุ่นยนต์สามารถบอกแรงที่ใช้จับวัตถุได้ (Force Sensor)
- อุปกรณ์การส่งข้อมูลและภาพกลับมายังคอมพิวเตอร์ควบคุมด้วยกล้อง 3 มิติ
- อุปกรณ์ติดตั้งเพื่อกวาดตะปูเรือใบ
- อุปกรณ์ตรวจจับโลหะ เพื่อการสำรวจวัตถุระเบิดที่ฝังในใต้ดิน
- อุปกรณ์ x-ray
- อุปกรณ์ตรวจสอบวัตถุระเบิด
สำหรับจุดเด่นของหุ่นยนต์ที่ทีมนักวิจัยได้สร้างขึ้น คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีในประเทศ ทำให้สะดวกต่อการบำรุงดูแลรักษารวมทั้งแก้ปัญหาเองได้ ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หากหุ่นยนต์โดนระเบิดทำลายหรือได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน สามารถนำกลับมาเพื่อประกอบใหม่ใช้งานรวมทั้งราคาถูกกว่าหุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิดที่นำเข้าจากต่างประเทศ
https://youtu.be/9vQ6I9Fcwp4
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น